เมนู

แล้ว ในคราวมีจีวรมาก จักให้จีวรแก่ภิกษุรูปละไตรบ้าง รูปละ 2 ผืน ๆ บ้าง
รูปละผืน ๆ บ้าง เธอทั้งหลายจักทราบจีวรที่ภิกษุได้แล้วและยังไม่ได้ ครั้น
ทราบความที่จีวรซึ่งภิกษุยังไม่ได้ จักสำคัญเพื่อทำความสงเคราะห์กันฉะนี้.

ว่าด้วยบุคคลที่ไม่ควรไห้ย้าย


วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ภณฺฑาคาริโก วุฏฺฐาเปตพฺโพ นี้
พึงทราบดังนี้:-
พึงรู้จักภิกษุที่ไม่ควรให้ย้ายแม้อื่นอีก จริงอยู่ ไม่ควรให้ย้ายภิกษุ 4
พวก คือ ภิกษุผู้แก่กว่า 1 ภิกษุเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง 1 ภิกษุผู้อาพาธ 1
ภิกษุได้เสนาสนะจากสงฆ์ 1 ในภิกษุ พวกนั้น ภิกษุผู้แก่กว่า อันภิกษุผู้
อ่อนกว่า ไม่พึงให้ย้าย เพราะท่านเป็นผู้แก่กว่าตน, ภิกษุเจ้าหน้าที่รักษา
เรือนคลัง ไม่พึงให้ย้าย เพราะเรือนคลังอันสงฆ์สมมติมอบไห้ ภิกษุผู้อาพาธ
ไม่พึงให้ย้าย เพราะค่าที่เธอเป็นผู้อาพาธ, แต่ว่า สงฆ์มอบที่อยู่อันสำราญกระทำ
ให้เป็นสถานที่ไม่ต้องให้ย้าย แก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต มีอุปการะมาก ด้วยอุทเทส
และปริปุจฉาเป็นต้น ผู้ช่วยภาระ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้เป็นพหูสู นั้น ไม่
พึงให้ย้าย เพราะค่าที่เธอเป็นผู้มีอุปการะ และเพราะค่าที่เสนาสนะเป็นของ
อันเธอได้จากสงฆ์ ฉะนี้แล.

ว่าด้วยเจ้าหน้าที่แจกจีวร


สองบทว่า อุสฺสนฺนํ โหติ มีความว่า จีวรมีมากต้องจัดกองไว้คือ
เรือนคลังไม่จุพอ.
บทว่า สมฺมุขีภูเตน คือ ยืนอยู่ภายในอุปจารสีมา.
บทว่า ภาเชตุํ มีความว่า เพื่อให้ประกาศเวลา แจกกันตามลำดับ.

สองบทว่า โกลาหลํ อกาสิ คือ ได้ทำเสียงดังอย่างนี้ว่า ท่านจง
ให้แก่อาจารย์ของเรา ท่านจงให้แก่อุปัชฌาย์ของเรา.
วินิจฉัยในองค์ของเจ้าหน้าที่แจกจีวร พึงทราบดังนี้:-
เมื่อให้จีวรที่มีราคามาก แม้ยังไม่ถึง (ลำดับ) แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ชอบ
พอกัน ชื่อถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ. ไม่ให้จีวรมีราคามาก แม้ถึง
แก่ภิกษุผู้แก่กว่าเหล่าอื่น แต่กลับเอาจีวรมีราคาน้อยให้ชื่อถึงความลำเอียง
เพราะความเกลียดชัง. ภิกษุผู้งมงายด้วยความเขลา ไม่รู้จักธรรมเนียมการให้
จีวร ชื่อถึงความลำเอียงเพราะงมงาย เพราะกลัวแม้แต่ภิกษุอ่อนผู้มีปากกล้า
จึงให้จีวรมีราคามากที่ยังไม่ทันถึง (ลำดับ) ชื่อถึงความลำเอียงเพราะกลัว.
ภิกษุใดไม่ถึงความลำเอียงอย่างนั้น คือ เป็นผู้เที่ยงตรง เป็นผู้พอดี วางเป็น
กลางต่อภิกษุทั้งปวง ภิกษุเห็นปานนี้สงฆ์ควรสมมติ.
บทว่า ภาชิตาภาชิตํ มีความว่า ภิกษุผู้ทราบอยู่ว่า ผ้าแจกไป
แล้ว เท่านี้ ยังมิได้แจกเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทราบผ้าที่แจกแล้ว
และยังมิได้แจก.
บทว่า อุจฺจินิตฺวา มีความว่า คัดเลือกผ้าทั้งหลายอย่างนี้ ว่านี่เนื้อ
หยาบ นี่เนื้อละเอียด นี่เนื้อแน่น นี่เนื้อบาง นี่ใช้แล้ว นี่ยังไม่ได้ใช้ นี่ยาว
เท่านี้ นี่กว้างเท่านี้.
บทว่า ตุลยิตฺวา มีความว่า ทำการกำหนดราคาอย่างนี้ว่า ผืนนี้ดี
ราคาเท่านี้ ผืนนี้ราคาเท่านี้.
สองบทว่า วณฺณาวณฺณํ กตฺวา มีความว่า ถ้าเฉพาะผืนหนึ่ง ๆ
ซึ่งมีราคาผืนละ 10 กหาปณะ ๆ พอทั่วกัน อย่างนั้น นั่นเป็นการดี; ถ้าไม่พอ
ผืนใด ดีราคา 9 หรือ 8 กหาปณะ ผืนนั้นควบกับผืนอื่น ซึ่งมีราคา 1

กหาปณะ และมีราคา 2 กหาปณะจัดส่วนเท่า ๆ กัน โดยอุบายนี้แล.
ข้อว่า ภิกฺขู คเณตฺวา วคฺคํ พนฺธิตฺวา มีความว่า หากว่าเมื่อแจก
ทีละรูป ๆ วันไม่พอ เราอนุญาตให้นับภิกษุพวกละ 10 รูป ๆ จัดส่วนจีวรเป็น
หมวด ๆ หมวดละ 10 ส่วน ๆ ทำเป็นมัดอันเดียวกันตั้งเป็นส่วนจีวรอันหนึ่ง
เมื่อส่วนจีวรได้จัดตั้งไว้อย่างนี้แล้วพึงให้จับสลาก แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็พึงจับ
สลากแจกกันอีก.
วินิจฉัยในข้อว่า สามเณรานํ อุฑฺฒปฏิวึสํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
สามเณรเหล่าใด เป็นอิสระแก่ตน ไม่ทำการงานที่ควรทำของภิกษุ
สงฆ์ ขวนขวายในอุทเทสและปริปุจฉา ทำวัตรปฏิบัติแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์
เท่านั้น ไม่ทำแก่ภิกษุเหล่าอื่น เฉพาะสามเณรเหล่านั้น พึงให้กึ่งส่วน ฝ่าย
สามเณรเหล่าใด ทำกิจที่ควรทำของภิกษุสงฆ์เท่านั้น ทั้งปุเรภัตและปัจฉาภัต
พึงให้ส่วนเท่ากัน แก่สามเณรเหล่านั้น. แต่คำนี้กล่าวเฉพาะด้วยอกาลจีวร
ซึ่งเกิดขึ้นหลังสมัย ได้เก็บไว้ในเรือนคลัง ส่วนกาลจีวรต้องให้เท่า ๆ กันแท้.
ผ้าจำนำพรรษา ซึ่งเกิดในที่นั้น ภิกษุและสามเณรพึงทำผาติกรรม
แก่สงฆ์มีผูกไม้กวาดเป็นต้น แล้วถือเอา. จริงอยู่ การทำหัตถกรรมมีผูก
ไม้กวาดเป็นต้น เป็นวัตรของภิกษุสามเณรทั้งปวง ในการถือเอาผ้าจำนำพรรษา
นี้ ทั้งใน (อกาล) จีวรที่เก็บไว้ในเรือนคลัง (ตามปกติ). ถ้าว่า สามเณรทั้ง
หลาย มากระทำการร้องขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ พวกผมต้มข้าวต้ม พวกผมหุง
ข้าวสวย พวกผมปิ้งของควรเคี้ยว พวกผมถางหญ้า พวกผมหาไม้สีฟันมา
พวกผมทำสะเก็ดน้ำย้อมให้ควรถวาย ก็อะไรเล่า ที่ชื่อว่าพวกผมไม่ได้ทำ
พึงให้ส่วนเท่ากันแก่สามเณรเหล่านั้นเทียว. การให้ส่วนเท่ากัน เมื่อพวก

สามเณรทำการร้องขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาสามเณรผู้กระทำผิด
และสามเณรผู้มีความกระทำไม่ปรากฏ. แต่ในกุรุนทีแก้ว่า หากว่า สามเณร
ทั้งหลายวิงวอนว่า ท่านผู้เจริญ พวกผมไม่ทำงานของสงฆ์ เพราะเหตุอะไร
พวกผมจักทำ พึงให้ส่วนเท่ากัน.
บทว่า อุตฺตริตุกาโม มีความว่า ผู้ประสงค์จะข้ามแม่น้ำหรือทาง
กันดาร คือ ผู้ได้พวกแล้วประสงค์จะหลีกไปสู่ทิศ.
คำว่า สกํ ภาคํ ทาตุํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเนื้อความ
นี้ว่า เมื่อขนจีวรออกจากเรือนคลังจัดกองไว้แล้ว ตีระฆังแล้ว ภิกษุสงฆ์ประ-
ชุมกันแล้ว. ภิกษุผู้ได้พวกแล้วประสงค์จะไป อย่าต้องพลัดพรากจากพวก.
เพราะฉะนั้น เมื่อจีวรยังมิได้ขนออกก็ดี ระฆังยังมิได้ก็ดี สงฆ์ยังมิได้ประชุม
กันก็ดี ไม่ควรให้. แต่เมื่อจีวรขนออกแล้ว ตีระฆังแล้ว ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน
แล้ว ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร พึงคะเนดูว่า ส่วนของภิกษุนี้พึงมีเท่านี้
แล้วให้จีวรตามความคาดคะเน; เพราะว่าไม่อาจให้เท่า ๆ กัน เหมือนชั่งด้วย
ตราชั่งได้ เพราะฉะนั้น จะหย่อนไปหรือเกินไปก็ตามที จีวรที่ให้แล้ว โดย
คาดคะเนโดยนัยอย่างนี้ เป็นอันให้ด้วยดีแท้; หย่อนไปก็ไม่ต้องแถมให้อีก
เกินไปก็ไม้ต้องเอาคืนฉะนี้แล.
ข้อว่า อติเรกภาเคน มีความว่า ภิกษุมี 10 รูป ทั้งผู้ก็มี 10 ผืน
เหมือนกัน ในผ้าเหล่านั้น ผืนหนึ่งตีราคา 12 กหาปณะ ผืนที่เหลือตีราคา
ผืนละ 10 กหาปณะ; เมื่อได้จับสลากในผ้าทั้งปวงด้วยอำนาจ ตีราคาผืนละ 10
กหาปณะเท่ากัน สลากในผ้ามีราคา 12 กหาปณะ ให้ตกแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้น
เป็นผู้ประสงค์จะไปทั้งส่วนที่เกินนั้น ด้วยกล่าวว่า จีวรของเราย่อมพอเพียง
ด้วยส่วนเท่านี้ ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ผู้มีอายุ ส่วนที่เกิน ต้องเป็นของสงฆ์;

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำนั้น จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
เพื่อให้ส่วนที่เกิน ในเมื่อเธอให้สิ่งของสำหรับทดแทนแล้ว ดังนี้ เพื่อแสดง
เนื้อความนั้นว่า ชื่อว่าน้อยย่อมไม่มีในของสงฆ์และของคณะ ภิกษุพึงทำความ
สำรวมในของสงฆ์และของคณะทั้งปวง ถึงภิกษุผู้จะถือเอาก็พึงรังเกียจ.
ในบทว่า อนุกฺเขเป ทินฺเน นั้น มีความว่า ขึ้นชื่อว่าสิ่งของสำหรับ
ทดแทน ได้แก่กัปปิยภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะพึงทดแทน คือพึงใช้แทน
ให้ ในส่วนของภิกษุนั้น ที่เกินไปเท่าใด เมื่อกัปปิยภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งมีราคาเท่านั้น อันเธอให้แล้ว.
ความบกพร่องในคำว่า วิกลเก โตเสตฺวา นี้ มี 2 คือ:- บกพร่อง
จีวร 1 บกพร่องบุคคล 1.
ที่ชื่อว่าความบกพร่องจีวร พึงทราบดังนี้:-
ผ้าถึงภิกษุรูปละ 5 ผืน ๆ ทั่วกัน, ทั้งยังมีผ้าเหลือ. แต่ไม่พอรูปละ
ผืน ๆ, พึงตัดให้ ; ก็แล เมื่อจะตัด พึงทำให้เป็นท่อนให้พอแก่จีวร มี
อัฑฒมณฑลเป็นต้น หรือบริขารอื่นมีถุงใส่รองเท้าเป็นต้น; โดยกำหนดอย่าง
ต่ำที่สุด สมควรตัดท่อนให้กว้างเพียง 4 นิ้ว ยาวพอแก่อนุวาต. แต่ไม่พึงทำ
เป็นท่อนจนใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นข้อที่จีวรไม่เพียงพอ ชื่อว่าความบกพร่อง
จีวร ในคำว่า วิกลเก โตเสตฺวา นี้ ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อตัดจีวรให้แล้ว จีวรนั้นเป็นของแถมให้ภิกษุทั้งหลายพอใจ
ลำดับนั้นพึงทำการจับสลาก; ในอันธกอรรถกถาแก้ว่า ถึงหากว่า ในส่วนของ
ภิกษุรูปหนึ่ง ผ้าจะไม่พอผืน 1 หรือ 2 ผืน, พึงแถมสมณบริขารอย่างอื่นใน
ส่วนนั้น ภิกษุใดพอใจด้วยส่วนนั้น พึงให้ส่วนนั้นแก่ภิกษุนั้นแล้ว พึงทำการ
จับฉลากในภายหลัง; แม้นี้ก็ชื่อว่า ความบกพร่องจีวร.

ที่ชื่อว่า ความบกพร่องบุคคล พึงทราบดังนี้:-
เมื่อนับภิกษุจัดเป็นหมวด ๆ ละ 10 รูป หมวดหนึ่งไม่ครบ มีภิกษุอยู่
8 รูปหรือ 9 รูป พึงให้แก่ภิกษุเหล่านั้น 8 ส่วน หรือ 9 ส่วนว่า ท่านทั้ง
หลาย จงนับส่วนเหล่านี้แบ่งแจกกันเกิด. ข้อที่บุคคลไม่เพียงพอนี้ ชื่อความ
บกพร่องบุคคล ตัวประการฉะนี้. ก็เมื่อให้เป็นแผนกแล้ว จีวรนั้นย่อมเป็น
ของที่ให้ภิกษุทั้งหลายพอใจได้, ครั้นให้พอใจได้อย่างนั้นแล้ว พึงทำการจับ
สลาก.
อีกอย่างหนึ่ง ข้อว่า วิกลเก โตเสตฺวา มีความว่า ส่วนจีวรใดบก
พร่อง, พึงเอาบริขารอื่นแถมส่วนจีวรนั้นให้เท่ากันแล้วพึงทำการจับสลาก

ว่าด้วยน้ำย้อม


บทว่า ฉกเณน ได้แก่ โคมัย.
บทว่า ปณฺฑุมตฺติกาย ได้แก่ ดินแดง.
วินิจฉัยในน้ำย้อมเกิดแต่หัวเป็นอาทิ พึงทราบดังนี้;-
เว้นขมิ้นเสีย น้ำย้อมเกิดแต่หัว ควรทุกอย่าง. เว้นฝางกับแกแลเสีย
น้ำย้อมเกิดแต่ลำต้น ควรทุกอย่าง. ต้นไม้มีหนามชนิดหนึ่ง ชื่อแกแล,
น้ำย้อมเกิดแต่ลำต้น แห่งแกแลนั้น เป็นของมีสีคล้ายหรดาล เว้นโลดกับ
มะพูดเสีย น้ำย้อมเกิดแต่เปลือก ควรทุกอย่าง. เว้นใบมะเกลือกับใบครามเสีย
น้ำย้อมเกิดแต่ใบไม้ ควรทุกอย่าง. แต่ผ้าที่คฤหัสถ์ใช้แล้ว สมควรย้อมด้วย
ใบมะเกลือครั้งหนึ่ง. เว้นดอกทองกวาวกับดอกดำเสีย น้ำย้อมเกิดแต่ดอก
ควรทุกอย่าง. ส่วนในน้ำย้อมเกิดแต่ผล ผลอะไร ๆ จะไม่ควรหามิได้.
น้ำย้อมที่ไม่ได้ต้ม เรียกว่าน้ำเย็น.